รากฟันเทียม คืออะไร??

            รากฟันเทียมเป็นการรักษาทางทันตกรรมรูปแบบหนึ่ง ที่ทันตแพทย์ใช้การผ่าตัดเพื่อฝังวัสดุเทียมลงในกระดูกขากรรไกร ใช้ระยะเวลารอให้รากเทียมเชื่อมติดกับกระดูก หลังจากนั้นทำการต่อส่วนของฟันเทียมด้านบน เพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป 

            โดยในปัจจุบันถือเป็นวิธีการใส่ฟันที่ผู้ป่วยที่ทำการรักษารากฟันเทียมได้รับความรู้สึกสัมผัสได้ใกล้เคียงฟันธรรมชาติมากที่สุดวิธีหนึ่ง ทำให้ผู้ที่สูญเสียฟันไปสามารถใช้ฟันในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัสดุและส่วนประกอบของรากฟันเทียม

         ในอดีตวัสดุที่ใช้ทำรากฟันเทียมมีหลากหลายมากมาย แต่ในปัจจุบันใช้ “ไทเทเนียม” ซึ่งถือว่าเป็นวัสดุที่คงทน แข็งแรง น้ำหนักเบา ทนต่อการสึก กัดกร่อน และสามารถเข้ากับกระดูกขากรรไกรและเนื้อเยื่อของร่างกายได้เป็นอย่างดี จึงมั่นใจได้ว่ามีความปลอดภัยในการรักษา โดยรากฟันเทียมจะประกอบไปด้วย

  1. รากเทียมหรือส่วนที่ฝังลงในกระดูก (Fixture) : วัสดุไทเทเนียมรูปร่างคล้ายสกรูหรือรากฟัน ฝังลงในกระดูกขากรรไกร เป็นฐานของส่วนฟันเทียม (ครอบฟันหรือสะพานฟัน)ด้านบน
  2. ส่วนยึดต่อ (Abutment) : ส่วนที่ยึดต่อระหว่างส่วนของรากเทียมและฟันเทียม วัสดุที่ใช้สามารถเป็นได้ทั้ง ไทเทเนียม และเซรามิก
  3. ฟันเทียม (Prosthetic) : ครอบฟันหรือสะพานฟัน เป็นวัสดุทดแทนส่วนของตัวฟันที่สูญเสียไป อยู่เหนือเหงือก สีและรูปร่างคล้ายฟันธรรมชาติ สามารถใช้ในการบดเคี้ยวได้เหมือนฟันจริง ยึดติดกับส่วนยึดต่อด้วยกาวทางทันตกรรมหรือสกรู

รากฟันเทียมเหมาะและไม่เหมาะสมกับใคร ??

บุคคลทั่วไปที่มีการสูญเสียฟันธรรมชาติสามารถเข้ารับการรักษาใส่รากฟันเทียมได้ทุกคน

แต่ไม่แนะนำในบุคคลที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบรุนแรง บุคคลที่สูบบุหรี่หนัก หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้ โรคที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องได้รับการฉายรังสีบริเวณใบหน้าและขากรรไกร ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนที่รับประทานยาบางชนิด ผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมและโรคประจำตัวเหล่านี้ อาจส่งผลต่ออัตราความสำเร็จของการใส่รากฟันเทียมและอายุการใช้งานได้

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษาใส่รากฟันเทียม

         ผู้ป่วยที่มีความประสงค์จะเข้ารับการรักษาใส่รากฟันเทียม ควรทำการนัดหมายทันตแพทย์เพื่อการตรวจประเมินในช่องปากโดยละเอียด วางแผนการรักษา เลือกวัสดุ และรากเทียมที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน ในกรณีที่ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวหรือมียาที่รับประทานอยู่เป็นประจำ ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบและนำยาติดตัวมาด้วยในวันที่ปรึกษาและทำหัตถการ รวมถึงควรรับการรักษาโรคเหงือก ขูดหินปูน และดูแลสุขอนามัยช่องปากให้ได้ดีก่อนเข้ารับการรักษาใส่รากฟันเทียม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการักษารากฟันเทียมและยืดอายุการใช้งานให้ยาวนาน

ขั้นตอนการรักษาใส่รากฟันเทียม

  • นัดหมายทันตแพทย์เพื่อตรวจประเมินภายในช่องปาก ถ่ายภาพรังสี พิมพ์ปากทำแบบจำลอง และในบางกรณีอาจจำเป็นต้องมีการ x-ray 3 มิติเพิ่มเติม เพื่อการวางแผนการรักษาให้แม่นยำและถูกต้อง
  • เริ่มการใส่รากเทียมลงในกระดูกขากรรไกร และรอให้รากเทียมเชื่อมติดกับกระดูก โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 3-6 เดือน
  • พิมพ์ปาก เพื่อส่งแลปทำชิ้นงานฟันเทียม
  • นัดผู้ป่วยมายึดส่วนของฟันเทียมกับรากเทียม ใน 1-2 สัปดาห์หลังพิมพ์ปาก

         ** ในบางกรณีที่กระดูกขากรรไกรของผู้ป่วยมีการละลายไปมากหรือมีการขยายใหญ่ขึ้นของโพรงอากาศ เนื่องจากมีการสูญเสียฟันไปเป็นระยะเวลานาน อาจจำเป็นต้องมีขั้นตอนการใส่กระดูกเทียมและเนื้อเยื่อเทียมเพิ่มเติมในขั้นตอนการใส่รากเทียมร่วมด้วย เพื่อให้เกิดผลการรักษาที่ดี และผู้ป่วยสามารถใช้งานรากฟันเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีอายุการใช้งานที่ยืนนาน

ข้อดี

  • แข็งแรง ทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
  • ช่วยลดการละลายของกระดูกหลังสูญเสียฟันธรรมชาติ
  • ไม่ต้องกรอแต่งฟัน ลดการสูญเสียเนื้อฟันข้างเคียง
  • สะดวกสบาย ยึดติดอยู่ในช่องปาก  ไม่ต้องทำการถอดใส่ระหว่างวัน
  • ดูเป็นธรรมชาติและใช้งานได้ใกล้เคียงฟันธรรมชาติ
  • ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพ ในการพูด การยิ้ม

ข้อจำกัด

  • แข็งแรง ทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
  • ช่วยลดการละลายของกระดูกหลังสูญเสียฟันธรรมชาติ
  • ไม่ต้องกรอแต่งฟัน ลดการสูญเสียเนื้อฟันข้างเคียง
  • สะดวกสบาย ยึดติดอยู่ในช่องปาก  ไม่ต้องทำการถอดใส่ระหว่างวัน
  • ดูเป็นธรรมชาติและใช้งานได้ใกล้เคียงฟันธรรมชาติ
  • ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพ ในการพูด การยิ้ม

คำแนะนำหลังการใส่รากฟันเทียม

  • กัดผ้าก๊อซเบาๆไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง กลืนเลือดและน้ำลาย ไม่บ้วนทิ้ง
  • ประคบเย็นหลังการใส่รากฟันเทียมทุก 15 นาที เพื่อให้เลือดหยุดไหลและลดอาการบวม
  • หลีกเลี่ยงการบ้วนน้ำแรงๆและการแปรงฟันบริเวณที่ใส่รากฟันเทียมประมาณ 1-2 วันแรก แนะนำให้ใช้ก้านสำลีชุบน้ำเกลือหรือน้ำยาบ้วนปากฆ่าเชื้อเช็ดเบาๆแทน
  • รับประทานอาหารอ่อนๆ และหลีกเลี่ยงการใช้งานหรือเคี้ยวด้านที่ใส่รากฟันเทียมประมาณ 2 วันแรก
  • งดสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารรสจัด การใช้หลอดดูด และการออกกำลังกายหนักๆ ช่วงหลังจากการใส่รากฟันเทียมประมาณ 72 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้รบกวนการหายของแผล
  • รับประทานยาตามที่ทันตแพทย์สั่งและมาตามนัดเพื่อตัดไหมและตรวจสภาพแผล

การดูแลทำความสะอาด

  • แปรงฟันทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • ใช้ไหมขัดฟัน หรือ แปรงซอกฟันเป็นประจำทุกวัน
  • พบทันตแพทย์เพื่อตรวจช่องปากและตรวจสภาพรากฟันเทียมเป็นประจำตามที่ทันตแพทย์นัด เพื่อคงประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานรากฟันเทียม

ทำรากฟันเทียมที่ Alpaca dental clinic

             การรักษารากฟันเทียมที่ Alpaca dental clinic ทำโดยทันตแพทย์เฉพาะทาง วัสดุและเครื่องมือที่เลือกใช้ ได้การรับรองมาตรฐาน และใส่ใจความสะอาดทุกขั้นตอน จึงมั่นใจได้ว่ามีความปลอดภัยและผลของการรักษาจะมีประสิทธิภาพ โดยอัตราค่ารักษารากฟันเทียมมีราคาดังต่อไปนี้

Osstem

เกาหลี
฿ 40,000
  • รากเทียมวัสดุไทเทเนียม
  • ครอบฟัน
  • รับประกันรากเทียมตลอดระยะอายุการใช้งาน
Popular

Straumann

สวิสเซอร์แลนด์
฿ 70,000
  • รากเทียมวัสดุ ไทเทเนียม+เซอร์โคเนีย
  • ครอบฟัน
  • ประกันรากเทียมตลอดระยะอายุการใช้งาน
Scroll to Top