ฟันปลอมคืออะไร มีกี่ประเภท
ปัญหาสุขภาพในช่องปาก ไม่ว่าจะเป็น ฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน เนื้อฟันเหลือน้อยไม่สามารถบูรณะได้ อุบัติเหตุ หรือฟันโยกเนื่องจากโรคเหงือกอับเสบรุนแรง สาเหตุทั้งหมดที่กล่าวมาส่งผลให้เกิดการสูญเสียฟันไปก่อนเวลาอันควร ทำให้การบดเคี้ยวไม่มีประสิทธิภาพ เกิดช่องว่าง รอยยิ้มไม่สวยงาม ไม่มั่นใจ จึงมีวิธีการรักษาหรือแก้ไข เกิดสิ่งที่เรียกว่า ฟันปลอมหรือฟันเทียมขึ้นมา
เชื่อว่าหลายคนคงมีคำถามในใจ หรือเคยสงสัยว่า ฟันปลอมคืออะไร มีกี่แบบ แต่ละแบบต่างกันอย่างไร ข้อดี ข้อเสีย รวมถึงใส่แล้วจะเจ็บมั้ย ราคาแพงหรือไม่ ใส่ฟันปลอมแล้วการดูแลรักษาทำอย่างไร และที่สำคัญ ประกันสังคม สามารถใช้ร่วมกับการทำฟันปลอมได้รึเปล่า
วันนี้ คลินิกทันตกรรมอัลปาก้า จะมาให้ข้อมูลและตอบคำถามทั้งหมด ให้หายข้องใจกันค่ะ
ฟันปลอม คือ อะไร ทำไมต้องใส่ฟันปลอม
ฟันปลอม (Denture) หรือ ฟันเทียม คือ สิ่งประดิษฐ์จำลองเหงือกและฟัน ซึ่งทำขึ้นมาเพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป ป้องกันไม่ให้ฟันธรรมชาติข้างเคียงล้มเอียง ช่วยเติมเต็มตำแหน่งฟันที่ว่างเพื่อช่วยในการสบฟันและบดเคี้ยวอาหารให้ดีขึ้น
ฟันปลอมมีกี่ประเภท
ฟันปลอมหลักๆจะแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
- ฟันปลอมแบบติดแน่น (Fixed Prosthodontics) : ยึดติดอยู่ในช่องปาก ไม่ต้องถอดใส่ระหว่างวัน
- ฟันปลอมแบบถอดได้ (Removable Prosthodontics) : สามารถถอดใส่ในช่องปากได้ระหว่างวัน และถอดออกพักทำความสะอาดตอนนอน
คลินิกทันตกรรมอัลปาก้า มีบริการรักษาทำฟันปลอมทุกรูปแบบ แนะนำให้เข้ามาปรึกษาและตรวจประเมินในช่องปากเบื้องต้นโดยทันตแพทย์เฉพาะทางฟันปลอมก่อน เพื่อการรักษาที่ดี เหมาะสมและตรงตามต้องการของคนไข้ค่ะ
ฟันปลอมแบบติดแน่น (Fixed Prosthodontics)
เป็นฟันปลอมแบบยึดติดถาวรกับฟันธรรมชาติโดยการกรอฟันธรรมชาติให้มีขนาดลดลงเล็กน้อย และยึดชิ้นงานฟันปลอมโดยกาวทางทันตกรรม เช่น ครอบฟัน สะพานฟัน วีเนยร์ หรือ เป็นการทำ รากฟันเทียม โดยเป็นการผ่าตัดเพื่อฝังวัสดุเทียมลงในกระดูกขากรรไกร ให้เกิดการเชื่อมติดกับกระดูกหลังจากนั้นทำการต่อส่วนของฟันเทียมด้านบน เพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป
ข้อดี
- มีความสวยงาม สีใกล้เคียงฟันธรรมชาติ
- วัสดุที่ใช้มีความแข็งแรง ทนต่อแรงบดเคี้ยว
- รูปร่างคล้ายคลึงกับฟันธรรมชาติ ทำให้บดเคี้ยวอาหารได้ดี
- สะดวก สบาย ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญในการสวมใส่ และใช้งาน
ข้อเสีย
- ราคาที่ค่อนข้างแพงกว่าฟันปลอมแบบถอดได้
- อาจใช้ระยะเวลาในการรักษานานกว่าฟันปลอมแบบถอดได้ ถ้าการักษาซับซ้อน เช่น รากเทียม
- ถ้าทำความสะอาดได้ไม่ดี อาจก่อให้เกิดฟันผุใต้ครอบฟัน สะพานฟัน หรือ รากเทียมอาจโยกได้
ฟันปลอมแบบถอดได้ (Removable Prosthodontics)
เป็นฟันปลอมที่สามารถถอดออกมาทำความสะอาดนอกช่องปากระหว่างวันได้ โดยอาศัยตะขอในการยึดเกาะฟันปลอมกับฟันธรรมชาติข้างเคียง สามารถทำได้ทั้งในคนที่สูญเสียฟันธรรมชาติบางส่วนหรือสูญเสียฟันทั้งปาก
วัสดุที่ใช้ทำฟันปลอมแบบถอดได้มีทั้งแบบพลาสติกและแบบโลหะ ซึ่งราคาก็จะแตกต่างกันออกไป แล้วแต่วัสดุที่คนไข้เลือก โดยวัสดุโลหะจะมีราคาที่สูงกว่าแบบพลาสติก แต่จะมีข้อดีมากว่า ตรงน้ำหนักเบา และแข็งแรงส่งผลให้ฐานฟันปลอมบางกว่าแบบพลาสติก คนไข้จึงรู้สึกใส่แล้วสบายมากกว่า
ข้อดี
- ราคาที่ถูกกว่าฟันปลอมแบบติดแน่น
- ใช้เวลาทำและรักษาไม่นาน ถ้าการรักษาไม่ซับซ้อน
- สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้ง่าย
- ถ้ามีการแตกหัก สามารถซ่อมได้ ไม่จำเป็นต้องทำชิ้นใหม่เสมอไป
ข้อเสีย
- ความสวยงามจะไม่มากเท่าแบบติดแน่น เนื่องจากต้องการตะขอในการยึดเกาะ
- เมื่อใช้ไประยะเวลาหนึ่ง วัสดุและตะขอ อาจเสื่อมตามเวลา ทำให้หลวม มีเศษอาหารติดใต้ฟันปลอม เคี้ยวไม่สะดวกก่อให้เกิดความรำคาญได้
- ถ้าทำความสะอาดได้ไม่ดี อาจก่อให้เกิดฟันผุบริเวณฟันที่ใช้เกาะตะขอ หรือเป็นเชื้อราในช่องปากได้
การดูแลรักษา ทำความสะอาดฟันปลอม
ทำฟันปลอมแพงหรือไม่ ราคาเท่าไหร่??
อย่างที่กล่าวมาข้างต้น ฟันปลอมมีหลากหลายประเภท และวัสดุที่เลือกใช้ก็มีหลายอย่าง เพราะฉะนั้นราคาฟันปลอมในผู้สวมใส่แต่ละคนอาจจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับ ประเภท วัสดุที่เลือกใช้ รวมถึงความซับซ้อนในการรักษา แนะนำให้เข้ามาปรึกษาและตรวจประเมินในช่องปากเบื้องต้นกับทันตแพทย์เฉพาะทางฟันปลอมก่อนค่ะ
ตารางแสดง
ค่ารักษาฟันปลอมของ
คลินิกทันตกรรมอัลปาก้า
ฟันปลอมแบบถอดได้ | |
ฟันปลอมถอดได้ฐานพลาสติก (ต่อชิ้น) | ซี่แรก 3,500 ซี่ต่อไป 500 ตะขอ 100(ต่อตัว) |
ฟันปลอมถอดได้ฐานโลหะ (ต่อชิ้น) | ซี่แรก 9,000 – 10,000 ซี่ต่อไป 500 |
ฟันปลอมทั้งปาก (ชิ้นละ) | 10,000 |
ฟันปลอมแบบติดแน่น | |
สะพานฟันถอดได้ (ฐานโลหะ/พลาสติกพิเศษ) | 5,000 – 6,000 ซี่ถัดไป 500/ซี่ |
ครอบฟันโลหะธรรมดา (ต่อซี่) | 10,000 |
ครอบฟันโลหะ palladium | 13,000 |
ครอบฟันโลหะ semi precious | 16,000 – 18,000 |
ครอบฟันโลหะ high precious | 20,000 – 22,000 |
ครอบฟันสีเหมือนฟัน All Ceramic (ต่อซี่) | 14,000 |
ครอบฟันสีเหมือนฟัน Zirconia (ต่อซี่) | 16,000 |
Veneer (ต่อซี่) | 12,000 – 14,000 |
ทันตกรรมรากเทียม | |
รากเทียม Osstem | 40,000 |
รากเทียม Straumann | 70,000 |
ปลูกกระดูก | 5,000 – 15,000 |
ประกันสังคมสามารถใช้เบิกในการทำฟันปลอมได้หรือไม่
นอกจากสิทธิปร;ะกันสังคมในการทำฟันปีละ 900 บาท จะสามารถเบิกได้ตรงในการรักษา ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน และผ่าฟันคุดแล้ว ประกันสังคมยังให้สิทธิผู้ประกันตนในการเบิกค่าฟันปลอมเพิ่มเติม แยกจากสิทธิ 900 บาท/ปี โดยเบิกได้ภายในเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันปลอม โดยแยกออกเป็น 2 กรณี คือ
ฟันปลอมถอดได้
บางส่วน
- จำนวนฟันปลอมที่ใส่ 1-5 ซี่เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 1,300 บาท
- จำนวนฟันปลอมที่ใส่มากกว่า 5 ซี่ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท
ฟันปลอมถอดได้ทั้งปาก
- ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 2,400 บาท
- ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนและล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท