ทุกเรื่องของครอบฟัน

ครอบฟัน คือ การรักษาทางทันตกรรมที่จะช่วยแก้ไข ปรับขนาดและรูปร่างฟัน เสริมสร้างความแข็งแรงให้ตัวฟัน คล้ายการสวมหมวกลงไปที่ตัวฟัน เพื่อป้องกัน และแก้ไขให้ฟันดูสวยงามเต็มซี่มากขึ้น โดยวัสดุที่เลือกใช้ในการทำครอบก็มีหลากหลาย และใช้กาวทางทันตกรรมในการยึดตัวครอบกับซี่ฟันอย่างถาวร ถือเป็นฟันปลอมแบบติดแน่นรูปแบบหนึ่ง
ลักษณะของฟันที่ควรทำครอบ
- ฟันที่มีรอยผุใหญ่ ฟันบิ่นแตก มีการสูญเสียเนื้อฟันไปจำนวนมาก
- ฟันที่มีรอยแตก ร้าว
- ฟันที่รักษารากฟันมาแล้ว เป็นฟันที่ไม่มีชีวิตมีความเปราะแตกหักง่าย
- ฟันน้ำนมของเด็กที่มีรอยผุใหญ่ หรือฟันน้ำนมที่รักษารากฟันแล้ว ก็พิจาณาในการทำครอบฟันน้ำนมเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและกันพื้นที่รอจนกว่าฟันแท้จะดันขึ้นมาตามธรรมชาติ และฟันน้ำนมพร้อมครอบหลุดไปเอง
- บริเวณที่ปลูกรากฟันเทียม ต้องมีการใส่ครอบฟันด้านบนทดแทนส่วนของตัวฟัน

ขั้นตอนการทำครอบฟันและ
การเตรียมตัวก่อนทำครอบ
อย่างแรกเลย แนะนำว่าการทำครอบฟันควรทำการรักษากับคุณหมอเฉพาะทางด้านทันตกรรมประดิษฐ์ หรือคุณหมอเฉพาะทางฟันปลอม เพราะต้องอาศัยความชำนาญและความรู้ในการวางแผนการรักษาให้เหมาะสมในฟันของแต่ละบุคคล เพราะฉะนั้น ควรศึกษาข้อมูลหรือสอบถามทางคลินิกก่อนว่าคุณหมอที่เราจะทำการรักษาด้วยเป็นคุณหมอเฉพาะทางจริงๆ เพื่อการรักษาที่แม่นยำและถูกต้องค่ะ
- พบทันตแพทย์ เพื่อซักประวัติ ตรวจภายในช่องปาก ตรวจสภาพของฟัน เหงือกและการสบฟัน มีการเอ็กซเรย์ พร้อมวางแผนการรักษาและแจ้งราคาค่าใช้จ่าย
- ทันตแพทย์จะกรอปรับแต่งรูปร่างฟันเป็นการสร้างพื้นที่เพื่อให้ครอบฟันสามารถสวมลงไปได้ โดยขั้นตอนนี้จะทำภายใต้ยาชาเฉพาะที่ เพราะฉะนั้นจะ ไม่มีอาการเสียวฟันหรือเจ็บระหว่างการรักษา
- ทันตแพทย์จะพิมพ์ปากบริเวณที่จะทำครอบฟันด้วยวัสดุพิมพ์ปากหรือใช้เทคโนโลยี สแกนรอยพิมพ์ในช่องปากเพื่อให้ได้ภาพข้อมูล 3 มิติ และส่งแล็บทันตกรรมเพื่อผลิตครอบฟัน ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์
- ระหว่างที่รอครอบฟันจริง ทันตแพทย์จะทำการใส่ครอบฟันชั่วคราวให้ก่อน เพื่อการใช้งานได้ตามปกติ แต่อย่างไรก็ตามความแข็งแรงจะไม่มากนัก แนะนำให้หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหรือรับประทานของแข็งเหนียว เพราะอาจจะทำให้แตกหักได้
- นัดใส่ครอบฟันตัวจริง เช็คสีของครอบฟัน ความแนบ การสบฟัน เมื่อทุกอย่างเหมาะสมดีแล้วจะทำการยึดครอบฟันจริงด้วยกาวทางทันตกรรม ถือเป็นการรักษาเสร็จสมบูรณ์
- 1 สัปดาห์หลังใส่ครอบฟันไป ทันตแพทย์จะมีการนัดมาตรวจเช็คครอบฟันหลังจากผ่านการใช้งานจริง เพื่อให้แน่ใจว่าคนไข้สามารถใช้งานได้ดีตามแผนการรักษาที่วางไว้
การดูแลรักษาครอบฟัน
ตามปกติหลังจากที่ได้รับการใส่ครอบฟันตัวจริงไปแล้ว ทันตแพทย์จะนัดตรวจเช็คสภาพและการใช้งาน ว่าสามารถใช้งานเคี้ยวได้ปกติหรือไม่ มีเจ็บหรือเสียวฟันเกิดขึ้นบ้างมั้ย ถ้าทุกอย่างอยู่ในสภาพดีปกติ ก็จะเป็นการนัดตรวจเช็คสุขภาพฟันทั่วไปทุก 6 เดือน ส่วนการดูแลในช่องปาก ก็สามารถแปรงฟันได้ตามปกติ วันละ 2 ครั้ง ควบคู่ไปกับการใช้ไหมขัดฟันหรือแปรงซอกฟันร่วมด้วย และควรหลีกเลี่ยงไม่กัดหรือเคี้ยวอาหารหรือของแข็งมากเกินไป เพราะอาจทำให้ครอบฟันบิ่นหรือแตกตามมาได้
ปัญหาหรือลักษณะอาการที่อาจเกิดขึ้นได้หลังจากใส่ครอบฟัน
อย่างแรกเลย แนะนำว่าการทำครอบฟันควรทำการรักษากับคุณหมอเฉพาะทางด้านทันตกรรมประดิษฐ์ หรือคุณหมอเฉพาะทางฟันปลอม เพราะต้องอาศัยความชำนาญและความรู้ในการวางแผนการรักษาให้เหมาะสมในฟันของแต่ละบุคคล เพราะฉะนั้น ควรศึกษาข้อมูลหรือสอบถามทางคลินิกก่อนว่าคุณหมอที่เราจะทำการรักษาด้วยเป็นคุณหมอเฉพาะทางจริงๆ เพื่อการรักษาที่แม่นยำและถูกต้องค่ะ
- เสียวฟันหลังจากทำครอบฟันไปเวลาทานหรือดื่มของร้อนเย็น : อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ เบื้องต้นทันตแพทย์จะแนะนำให้ทานยาแก้ปวด หรือ ลองใช้ยาสีฟันที่มีสารป้องกันการเสียวฟันดูก่อน ถ้าผ่านไป 1-2 สัปดาห์อาการยังไม่เบาลง แนะนำนัดหมายมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจพิ่มเติม
- เคี้ยวอาหาร หรือใช้งานแล้วรู้สึกสูง กัดค้ำ มีอาการเจ็บๆตอนเคี้ยว : อาจเกิดจากมีจุดค้ำสูงที่ตัวครอบฟัน แนะนำกลับมาพบทันตแพทย์เพื่อเช็คการสบฟันอีกครั้งค่ะ
- ครอบฟันบิ่นหรือแตกบางส่วน : ครอบฟันที่ทำจากวัสดุพอสเลน เมื่อใช้งานไประยะเวลาหนึ่ง หรือมีการกัดของแข็งกระแทก มีโอกาสที่ผิวของครอบอาจจะกร่อน หรือบิ่นได้ ถ้ารอยบิ่นแตกมีขนาดเล็กก็อาจสามารถซ่อมแซมในช่องปากได้ แต่ถ้ามีขนาดใหญ่ อาจนำไปสู่การทำครอบฟันอันใหม่ทดแทนค่ะ
- ครอบฟันหลวม ขยับ หลุด : กาวทางทันตกรรมที่ใช้ในการยึดส่วนของครอบฟันกับฟันธรรมชาติอาจมีหลุดถูกชะล้างออกไป ทำให้การยึดอยู่แย่ลง เลยอาจทำให้รู้สึกครอบฟันหลวมและเกิดการขยับ ซึ่งการปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดแบคทีเรียสะสมในช่องว่างเหล่านั้น นำไปสู่การเกิดรอยผุตามขอบของครอบฟัน จนท้ายที่สุดครอบฟันอาจหลุดออกมา และตัวฟันธรรมชาติอาจผุลึกจนไม่สามารถทำการบูรณะด้วยวิธีใดๆได้ จำเป็นต้องถอนออกในที่สุด
- อาการแพ้วัสดุที่ใช้ทำครอบฟัน : โดยทั่วไปวัสดุที่ใช้ทำครอบฟันค่อนข้างปลอดภัยกับการใช้งานในช่องปากของมนุษย์ แต่ก็อาจจะพบได้ในบางบุคคลที่มีอาการแพ้ส่วนของโลหะ จำเป็นต้องเปลี่ยนวัสดุทำครอบฟันใหม่ แต่เป็นกรณีที่เกิดได้น้อยมาก
ค่ารักษาของการทำครอบฟันด้วยวัสดุประเภทต่างๆ
ของคลินิกทันตกรรมอัลปาก้า

การทำครอบฟันถือเป็นการรักษาและแก้ปัญหาสุขภาพช่องปาก เพื่อให้กลับมาใช้งานได้อย่างปกติและมีประสิทธิภาพ สร้างความมั่นใจและคืนความสวยงามให้กับตัวฟันอีกทางเลือกหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม การดูแลรักษา ป้องกันฟันธรรมชาติของเราให้อยู่ในสภาพดี ก็เป็นทางที่ดีที่สุด ดีกว่าการต้องมาทำรักษาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นมาในช่องปากแล้วอย่างแน่นอน ดังนั้น การตรวจสุขภาพช่องปาก พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน ยังเป็นสิ่งที่แนะนำว่าควรทำเป็นประจำนะคะ
